วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการตลาด

 การตลาด

 ความสำคัญของการตลาด (The Importance Marketing)

          กิจกรรมด้านการตลาด ในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้งาน
ด้านการตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิม ที่เคยเน้นการขายสินค้าและบริการเพื่อหวัง ผลกำไรเพียงอย่างเดียวมาเป็นการตลาดที่มุ่งหวังกำไรที่เกิดจากความพึงพอใจของผู้บริโภคและสังคม ผู้ที่สามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการตลาดได้เหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจด้านการตลาด กิจกรรมของมนุษย์ในสังคมตามระบบเศรษฐกิจ จะมีการกระทำอยู่ 3 ประเภทใหญ่ คือ 

                           1. การผลิต (Product)
                           2. การจัดจำหน่าย (Distribution)
                           3. การบริโภค (Consumption)
          กิจกรรมเหล่านี้ได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอดังจะเห็นได้จากมนุษย์ ได้คิดสิ่งต่าง ๆ ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆเข้ามาใช้ในการพัฒนาทางด้านการผลิต และทางด้านอุตสาหกรรมจากกิจกรรมทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมานี้ กิจกรรมเกี่ยวกับการ จัดจำหน่าย (Distribution) จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการตลาด (Marketing) มากที่สุด






ความสำคัญของการตลาด อาจกล่าวได้ ดังนี้

              • การตลาดเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการดำเนินการตลาดของธุรกิจจะทำให้ผู้ผลิตกับผู้บริโภคเข้ามาใกล้กัน และสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค
             • การตลาดเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภค การดำเนินการทางการตลาดทำให้ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองและสร้างความ พึงพอใจให้กับผู้บริโภคได้ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับภาวการณ์ สถานภาพ ของผู้บริโภค
             • การตลาดเป็นตัวผลักดันให้มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ด้วยแนวคิดของการตลาดในการมุ่งสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค และรับผิดชอบต่อสังคมผลักดันให้ผลิตต้องพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้ตรงต่อความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคตลอดจนจูงใจผู้บริโภคด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
             • การตลาดเป็นกลไกในการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ ด้วยการก่อให้เกิดการบริโภคและการพึ่งพากันอย่างเป็นระบบมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ การสร้างความต้องการและการสนองความต้องการในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบ


ความสำคัญของการตลาด ต่อสังคมและบุคคลมีดังนี้

1. ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมให้สูงขึ้น
2. ทำให้พฤติกรรม อุปนิสัย ความเชื่อ ค่านิยมและลักษณะการดำรงชีพของบุคคล ในสังคมเปลี่ยนไป
3. เกิดอาชีพต่าง ๆ แก่บุคคลในสังคมเพิ่มมากขึ้น
ความสำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจโดยตรงดังนี้
1. ช่วยให้รายได้ประชากรสูงขึ้น
2. ทำให้เกิดการหมุนเวียนของปัจจัยการผลิต
3. ช่วยสร้างความต้องการในสินค้าและบริการ
4. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของเศรษฐกิจ
5. ให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ


ความหมายของการตลาด

            ความหมายของคำว่า ตลาด (Market) กับ การตลาด (Marketing) นักปราชญ์หลายท่าน ได้ให้ความหมายของตลาด (Market) ไว้ดังนี้ 
            1. บุคคลทั่วไป เข้าใจความหมายของ ตลาด ว่าตลาด หมายถึง “สถานที่ ที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการ” 
            2. นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความหมายของ ตลาด ไว้ว่า 
ตลาด หมายถึง “กิจกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสิ้น ของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง” 
ตลาด หมายถึง “กลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายโดยทั่วไป เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคมา ทำการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ” 
ตลาด หมายถึง “ตลาดที่ถูกจำแนกประเภทตามพฤติกรรมผู้ผลิต ผู้ซื้อและ พฤติกรรมระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน รวมทั้งดูชนิดของสินค้าที่ขายในตลาดนั้นด้วย” 
ตลาด หมายถึง “กิจกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทั้งสิ้น ของผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง” ตลาด หมายถึง “กลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายโดยทั่วไป เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคมา ทำการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ”
ตลาด หมายถึง “ตลาดที่ถูกจำแนกประเภทตามพฤติกรรมผู้ผลิต ผู้ซื้อและ พฤติกรรมระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน รวมทั้งดูชนิดของสินค้าที่ขายในตลาดนั้นด้วย” 
             3. นักการตลาด ให้ความหมายของ ตลาด ไว้ดังนี้ 
ตลาด หมายถึง “บุคคลที่มีความจำเป็นหรือต้องการผลิตภัณฑ์ มีอำนาจซื้อหรือ มีเงิน และมีความพอใจที่จะจับจ่ายใช้สอย” 
ตลาด หมายถึง “กลุ่มของบุคคลและองค์กรซึ่งมีอำนาจซื้อและมีการปฏิบัติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์”
ตลาด หมายถึง “ความต้องการรวม (Aggregate Demand) ของผู้ซื้อ” 
             จากความหมายที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่านักการตลาด กำหนดขอบเขตของตลาดเฉพาะด้านผู้ซื้อด้านเดียว โดยศึกษาถึงขนาด อำนาจซื้อ และความพอใจของผู้ซื้อ ส่วนด้านผู้ขายนักการตลาดจะเรียก อุตสาหกรรม (Industry) หรือการแข่งขัน (Competition) ส่วนนักเศรษฐศาสตร์นั้นกำหนดขอบเขตตลาดทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย
             ในอดีตคณะกรรมการสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Marketing Association - AMA) ได้ให้ความหมายของการตลาดไว้ว่าการตลาด (Marketing) หมายถึง “การตลาดเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้”
นักการตลาดสมัยใหม่ ได้ให้ความหมายของ “การตลาด” (Marketing) ไว้ดังนี้สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Marketing Association = AMA.) ให้ความหมายว่าการตลาด หมายถึง “กิจกรรมทางธุรกิจที่ทำให้สินค้าและบริการผ่านจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภค เพื่อสนองตอบความต้องการ และทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจและขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ ของกิจการ ด้วย Phillip Kotler (ฟิลลิป คอตเลอร์) ได้ให้คำจำกัดความไว้ใน หนังสือการจัดการตลาดฉบับสหัสวรรษ (The Millennium Edition) ไว้อย่างสั้น ๆ กระชับและมีความครอบคลุมดังนี้ 
             การตลาด หมายถึง “การหาและการสนองความต้องการของมนุษย์ของสังคม” และยังให้คำนิยามของการตลาดที่สั้นไปกว่านี้อีกว่า “การตลาดหมายถึง การตอบสนองความต้องการ ที่เป็นประโยชน์” Phillip Kotler (ฟิลลิป คอตเลอร์) ได้มองการตลาดว่าเป็นงานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ การส่งเสริมการผ่านสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคและธุรกิจ โดยนักการตลาด จะต้องมีความเกี่ยวข้อง กับการตลาดในเรื่องต่าง ๆ ที่จำแนกออกได้ เป็น 10 ประเภทด้วยกัน คือ 
             1. สินค้า (Goods) การผลิตสินค้าทุกประเทศ เป็นการผลิตเพื่อการจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคให้มีความครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างทั่วถึง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความพยายามการตลาด ในประเทศที่มีการพัฒนา สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สินค้าการเกษตร และที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ
             2. บริการ (Services) ในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทาง เศรษฐกิจหรือประเทศ ที่มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากจะเน้นที่การผลิตบริการ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริการ้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์บริการ บริการดังกล่าวรวมถึง กิจการการบิน การโรงแรม กิจการเช่ารถ กิจการตัดผม และเสริมสวยการซ่อมบำรุง การฝึกสุนัข การบริการทางวิชาชีพ เช่น การบัญชี ทนายความ วิศวกรรม การแพทย์ และ การ ให้คำแนะนำปรึกษาทางด้านการจัดการ
             3. ประสบการณ์ (Experiences) การขายสินค้าและบริการจะต้อง อาศัยประสบการณ์ ทางด้านการตลาดทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการตลาด เช่น การจัดจำหน่ายเทปเพลง และการบันเทิงต่าง ๆ จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลงาน ให้เป็น ที่ต้องการของผู้บริโภค จะต้อง ใช้ประสบการณ์ทั้งในส่วน ที่สร้างสรรค์ผลงานและผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการตลาด ซึ่งหมายถึงผู้ดำเนิน การทางการตลาด ต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตลาด ในด้านนั้น ๆ 
            4. หตุการณ์ (Event) นักการตลาดต้องรู้จักใช้เหตุการณ์ต่าง ๆในการส่งเสริมการตลาด เช่น โอลิมปิกเกมส์ งานฉลองครบรอบของประเทศ ของเมืองหรือของบริษัท งานแสดงสินค้าต่าง ๆ และงานแสดงศิลปะ เป็นต้น 
            5. บุคคล (Persons) การดำเนินงานการตลาด นักการตลาดจะต้องเกี่ยวข้องติดต่อ กับบุคคลในอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการตลาดบรรลุวัตถุประสงค์การตลาด การติดต่อดังกล่าว เช่น การติดต่อกับบริษัทโฆษณา นักหนังสือพิมพ์ ตัวแทนของหนังสือพิมพ์ วารสารประชาสัมพันธ์ นักกฎหมายที่ปรึกษา ผู้ผลิตและลูกค้าเป็นต้น
            6. สถานที่ (Place) การดำเนินการการตลาดนักการตลาดจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใน การเลือกสถานที่ทำการตลาดที่ดึงดูดลูกค้า สถานที่ดังกล่าวอาจเป็นเขต เป็นเมืองและจังหวัด เป็นต้น
            7.ทรัพย์สิน (Properties) นักการตลาดจะต้องมีการเกี่ยวข้องโดยการเป็นเจ้าของ ทรัพย์สิน และการถ่ายโอนความเป็นเจ้าของทรัพย์สินระหว่างผู้จัดจำหน่ายกับผู้บริโภคตลอดจนกระบวนการ ของการซื้อขายทรัพย์สิน 
            8. องค์การ (Organizations) กิจกรรมขององค์การเป็นส่วนที่สร้างภาพลักษณ์ของกิจการ ให้เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชน ซึ่งในทางการตลาดกิจการ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการ จะพยายามแสวงหาการยอมรับและความเชื่อถือของสาธารณชนดังจะเห็นได้จากการดำเนิน กิจกรรม ของกิจการอย่าง เป็นระบบ มีขนาดองค์การที่ใหญ่โตจะได้รับการกล่าวขาน และเป็นที่ยอมรับ ความยิ่งใหญ่ของ กิจการนั้นซึ่งนักการตลาดจะต้องมีการเกี่ยวข้องในการสร้างภาพลักษณ์ ดังกล่าว
            9. สารสนเทศ (Information) การดำเนินการการตลาดจะต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร ในการวางแผนการตัดสินใจทางการตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่นักการตลาดจะต้องค้นหาข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน มาใช้ ความสำเร็จของการตลาด ในยุคปัจจุบันอยู่ที่ข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศเป็นสำคัญ
           10. ความคิด (Ideas) การนำเสนอในตลาด โดยพื้นฐานเป็นเรื่องเกี่ยว กับความคิด เป็นสำคัญฉะนั้นนักการตลาดที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นผู้มีความคิดแปลก แหวกแนว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ Mc Carthy (แม็ก คาร์ธีย์) ได้ให้ความหมายของการตลาดไว้ว่า การตลาด หมายถึง “กิจกรรมทางธุรกิจที่ทำให้สินค้าหรือบริการผ่านจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค เพื่อสนองความต้องการและทำความพอใจ ให้กับผู้บริโภคตลอดจน เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ของบริษัทด้วย”
          จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น พอที่จะแยกพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของ ความหมายการตลาดดังนี้
          1. กิจกรรม กิจกรรมที่จะทำให้สินค้าหรือบริการไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างมี ประสิทธิภาพ 
          2. การตอบสนองความต้องการหรือความพอใจของผู้บริโภคหรือลูกค้า 
          3. ผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือลูกค้า ในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะต้องมุ่งเน้นไปที่ตัว ผู้บริโภคคนสุดท้าย 
          4. การเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ การตลาดจะต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้า หรือบริการ
         ความหมายของการตลาดที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปและถือเป็นความหมายมาตรฐาน คือ ความหมายการตลาดที่กำหนดโดยคณะกรรมการสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ดังนี้ 
         การตลาด หมายถึง การกระทำทางธุรกิจที่ทำให้สินค้าหรือ บริการผ่านจากผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ คำจำกัดความของการตลาดตามที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศ
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ ได้รวมถึงการตลาด 
         บริการ คือ การตลาดสินค้าที่ไม่มีตัวตน ซึ่งโดยปกติแล้ว สินค้าประเภทนี้ จะถูกบริโภคโดยทันที เช่น การแสดง ที่พัก หรือยานพาหนะโดยสาร เป็นต้น การตลาดบริการ นับวันจะมีความจำเป็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายบริการท่องเที่ยว โรงละคร หรือบริการลดความ อ้วนก็ตาม ซึ่งเราจะเห็นว่าแต่ละประเภทมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก เมื่อคิดออกมาเป็นตัวเงิน แล้วจะเห็นว่า ผู้บริโภคได้ใช้เงินไปกับสินค้าที่ไม่มีตัวตนนี้เป็นจำนวนมาก


หน้าที่การตลาด (Marketing Function)

            หน้าที่การตลาด หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีผลทำให้สินค้าเคลื่อนย้าย จากมือผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค ในรูปร่างลักษณะ เวลาและสถานที่ที่ต้องการได้และ โดยทั่วไปแล้วสามารถ จำแนกหน้าที่การตลาดออกได้เป็น 3 ประเภทคือ 
            1. หน้าที่การแลกเปลี่ยน(Exchanging Function) หมายถึงหน้าที่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการครอบครอง และใช้ประโยชน์ ในตัวสินค้าซึ่งเป็นหน้าที่การตลาดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มกับตัวสินค้า ในรูปของการครอบครองหน้าที่การตลาดประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 
                 1.1 หน้าที่การซื้อ (Buying) หมายถึงการซื้อสินค้าต่างๆ แล้วยังมีความหมาย รวมไปถึงการหาแหล่งสินค้าการรวบรวมสินค้าและอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าอีกด้วย
                 1.2 หน้าที่การขาย (Selling) หมายถึงการขายสินค้า และกิจกรรมอย่างอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยในการขาย เช่น การสร้างตลาดการโฆษณาการจัดโปรแกรมการขายและอื่นๆ
            2. หน้าที่ทำกับตัวสินค้า(Physical Function) หมายถึง หน้าที่การตลาดที่ทำกับตัวสินค้าโดยตรงเพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า จากมือผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภคตาม ที่ต้องการซึ่งเป็นหน้าที่การตลาด ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่ม กับตัวสินค้าในด้านเวลารูปร่าง และสถานที่หน้าที่การตลาดประเภทนี้แบ่งออกได้เป็น 
                 2.1 หน้าที่การขนส่ง (Transportation) หมายถึงการทำกิจกรรมการขนส่งตลอดจนการขนส่งสินค้าขึ้นและลงทั้งนี้เพื่อให้สินค้าเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งซึ่งมีความต้องการสินค้า หน้าที่การขนส่งจึงเป็นหน้าที่การตลาดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่ม ในรูปของสถานที่ให้กับตัวสินค้า
                 2.2 หน้าที่การเก็บรักษา (Storage) หมายถึงการทำกิจกรรมการเก็บรักษาสินค้า ไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อรอการ บริโภคในอนาคต หรือเพื่อทำหน้าที่การตลาดอย่างอื่นเช่นการแปรรูปและการขนส่งเป็นต้นการ เก็บรักษาเป็นการชะลอให้มีสินค้าออกสู่ตลาดในปริมาณ ที่สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภคหน้าที่การเก็บรักษาเป็นหน้าที่การตลาดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มในรูปของเวลาให้กับตัวสินค้า
                 2.3 หน้าที่การแปรรูป (Processing) หมายถึงการทำกิจกรรมแปรรูปสินค้า จากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งและตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการหีบห่อสินค้า ให้อยู่ในรูปหรือมีคุณภาพตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการหรือสามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นการสีข้าวการสกัดน้ำมันพืชและการผลิตอาหารกระป๋องเป็นต้น หน้าที่การแปรรูปจึงเป็นหน้าที่ การตลาดที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มในรูปของรูปร่างให้กับตัวสินค้า
           3. หน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitating Function) หมายถึงหน้าที่การตลาดที่เป็นการสนับสนุนหรือมีส่วนช่วยให้สามารถทำหน้าที่การตลาด 2 ประการดังกล่าวข้างต้นได้อย่างสะดวกสบายหน้าที่ประเภทนี้แบ่งออกเป็น
               3.1 หน้าที่การจัดชั้นมาตรฐานสินค้า (Grade and Standardizaton) หมายถึงการทำกิจกรรมอันเกี่ยวกับการจัดชั้นมาตรฐานสินค้าทั้งในด้าน รูปร่างคุณภาพและหน่วย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่เข้าใจและเป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อ และผู้ขายเกิดความสะดวกสบาย ในการติดต่อซื้อขายสินค้ากัน ยิ่งขึ้นสำหรับการกำหนดชั้น และมาตรฐานสินค้าอาจกระทำโดยหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันการตลาดต่าง ๆอย่างมีแบบแผนหรือโดยความตกลงและเข้าใจกันเองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายก็ได้
               3.2 หน้าที่การเงิน (Financing) หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงินทั้งที่ดำเนินการโดยเอกชนและสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ทางการเงินให้กับหน่วยธุรกิจ การตลาดต่างๆในการทำหน้าที่การตลาดเช่นการให้เครดิตในการขายการแปรรูปและเก็บรักษาเป็นต้น
               3.3 หน้าที่การเสี่ยงภัย (Risk-bearing) หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้บริการเพื่อลดความเสี่ยงภัยในการทำหน้าที่การตลาดอย่างอื่นที่ อาจจะเกิดขึ้นได้เช่น การประกันภัยในการขนส่ง การเก็บรักษา เป็นต้น 
               3.4 หน้าที่ข่าวสาร การตลาด (Marking Intelligence) หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้บริการข่าวสารการตลาดและตลอดจนการตีความในข่าวสารนั้นๆเช่นข่าวสารที่เกี่ยวกับ ราคาสินค้าปริมาณและลักษณะความต้องการของผู้บริโภคเป็นต้นสำหรับ การทำหน้าที่การตลาดในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและสถาบันการตลาดต่างๆ

 ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)
          ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หมายถึงปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจด้านการตลาดบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถควบคุมได้และ ในปัจจุบันได้นำปัจจัยมาผสมกัน เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ ดังนี้
            1. ผลิตภัณฑ์ (Product) คือสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือผู้บริโภคโดยทั่วไปผู้ผลิต มักจะยึดกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย เป็นแนวทางในการกำหนดผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ นั้นควรจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง เช่น คุณภาพ ลักษณะ รูปร่าง ตราสินค้า การบรรจุภัณฑ์ รวมถึง การบริการต่าง ๆ เช่นการประกัน การรับคืน เป็นต้น
            2. ราคา (Price) เป็นการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ที่ จะนำไปเสนอขาย ในการตั้งราคาจะต้องเหมาะสม กับผลิตภัณฑ์และ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้เป็น สิ่งจูงใจในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์วิธีการกำหนดราคาสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
                    1) การกำหนดราคาตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นการกำหนดโดยการสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าเต็มใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาเท่าไหร่ 
                    2) การกำหนดราคาตามตลาดเป็นการกำหนดราคาตามคู่แข่งในตลาด 
                    3) การกำหนดราคาตามต้นทุนรวมกับกำไร โดยคำนวณจากต้นทุนทั้งหมดบวกกำไรที่คาดคะเนไว้จึงได้ราคาขายผลิตภัณฑ์นั้น ในการแข่งขันทางการค้า 
             3. การจัดจำหน่าย (Place or Distribution) เป็นวิธีการกระจายหรือขายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคอำนวยความสะดวก ในการซื้อขาย ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น วิธีการจัดจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น การจัดจำหน่ายโดยตรงหรือจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการเลือกขนส่งด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การขนส่ง ทางอากาศ รถยนต์ รถไฟ เรือ และทางท่อ ซึ่งผู้ผลิตควรเลือกวิธีการให้เหมาะสมที่สุด โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำและสินค้าไปถึงมือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทันตามเวลาที่กำหนด
             4. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวน การติดต่อสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสารหรือข้อมูลและบริการให้ผู้บริโภครู้จัก ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อสินค้านั้น เช่น
                  1) การโฆษณา (Advertising) โดยการใช้สื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์  อินเทอร์เน็ต ให้เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการที่ต้องการกระจายตลาดให้กว้างขึ้น
                  2) การขายโดยใช้พนักงาน (Personal Selling) เป็นการใช้พนักงานขาย เข้าไปเสนอขายสินค้าและบริการกับผู้บริโภคโดยตรง การส่งเสริมการตลาด วิธีนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดแต่เสียค่าใช้จ่ายสูงเหมาะสำหรับสินค้าที่สามารถสาธิตความแตกต่างได้
                  3) การสร้างภาพพจน์โดยการให้บริการแก่สังคมในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างสวนสาธารณะการมอบทุนการศึกษา การสร้างโรงเรียน การสร้างโรงพยาบาล นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมการจำหน่ายอาจจัดในรูปของการจัดแสดงสินค้าการแจกของตัวอย่างการแถมการแจกคูปองการชิงโชค และการแจกรางวัลต่าง ๆ


การจัดจำหน่าย (Place or Distribution)

            การจัดจำหน่าย (Place or Distribution) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลผลิตจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดย การจัดจำหน่ายจะต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้และมีสถานที่จำหน่ายตั้งอยู่ในที่เหมาะสม ที่เหมาะสมและสะดวก การจัดจำหน่ายมีประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนี้
            1. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความต้องการระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
            2. ผู้บริโภคประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ต้องการอีกทั้งในบางครั้งยังทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคด้วย 
            3. ทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการเนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดมีผู้ผลิตมากมายจึงทำให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านผลผลิตและราคา เพราะผลผลิตที่ดี มีคุณภาพและราคาถูกมักจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
            4. ช่วยให้เกิดอาชีพทำให้คนมีงานทำเพิ่มมากขึ้น และมีรายได้สำหรับใช้ในการดำรงชีวิต
การจัดจำหน่ายมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจประเภทต่าง ๆ การจัดจำหน่ายที่ดีและเหมาะสมกับสินค้าและบริการจะทำให้ธุรกิจสามารถจำหน่ายสินค้า และสร้างรายได้หรือกำไรให้กับผู้ผลิตมากขึ้นซึ่งในการ จัดจำหน่ายผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 
            1. คุณภาพของสินค้าที่จะนำไปจำหน่าย จะต้องมีคุณภาพและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 
            2. บรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค 
            3. ให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภคอย่างถูกต้องและชัดเจน 
            4. จัดสถานที่จำหน่ายให้สะดวกแก่ผู้บริโภคและสามารถซื้อได้ง่าย 
            5. จัดเวลาส่งสินค้าและบริการที่จะจำหน่ายแก่ผู้บริโภคได้ตรงเวลา


ช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel of Distribution)

            ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นเส้นทางการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตกระจายไปสู่ผู้บริโภคโดยมีการแลกเปลี่ยนการซื่อและการขายสินค้าเพราะในปัจจุบันไม่ใช่ผลิตเพียงเพื่อบริโภคเท่านั้นแต่จะมีผลผลิตส่วนเกินเพื่อนำไปแลกเปลี่ยน เป็นเงินมาใช้ซื้อสินค้า และบริการอื่น ๆ ซึ่งการจัดจำหน่ายจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ออกมาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาช่องทางนำสินค้าและบริการนั้นไปยังผู้บริโภคซึ่งปฏิบัติได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ 
             1. การจำหน่ายสินค้าทางตรง การจำหน่ายสินค้าทางตรงเป็นวิธีที่ผู้ผลิตนำสินค้าและบริการมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงเช่นช่างตัด เสื้อนำเสื้อผ้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายหรือผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคนำสินค้าจากโรงงานของตนเองมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเป็นต้น 
             2. การจำหน่ายสินค้าทางอ้อม การจำหน่ายสินค้าทางอ้อมเป็นการจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องประกอบด้วยตัวแทนคนกลางหรือพ่อค้า ส่งไม่ว่าจะผ่านคนกลางกี่รายก็จัดว่าเป็นการจำหน่ายสินค้าทางอ้อมทุกแบบยิ่งมีคนกลางมากการจำหน่ายจะทำได้ยาก เพราะสินค้าจะมีราคาสูงขึ้นและไปถึงมือผู้บริโภคช้าออกไปเช่นเจ้าของสวนลำไย นำลำไยไปจำหน่ายให้แม่ค้าขายปลีกในตลาดผลไม้แล้วแม่ค้าขายปลีกจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภคเป็นต้น

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการจำหน่ายสินค้าทางตรงและการจำหน่ายสินค้าทางอ้อม

1.ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางตรง                                                            


ข้อดี    
  1. ผู้ผลิตได้ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคข้อบกพร่องของสินค้า และปรับปรุงสินค้าได้ตรงกับความ
  2. สินค้าถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็วไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
  3. จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคในราคาถูกได้เพราะไม่ต้องจัดสรรกำไรให้พ่อค้าคนกลางทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
 ข้อเสีย

  1. ผู้ผลิตไม่สามารถกระจายสินค้าไปถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงถ้าผู้บริโภค อยู่อย่างกระจัดกระจาย
  2. เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงทำให้เงินทุนจมอยู่ในสินค้าที่เหลือ

2.ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางอ้อม

ข้อดี
  1.  ทำให้สินค้ากระจายไปได้อย่างกว้างขวางปริมาณการขายสินค้ ของผู้ผลิตจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม 
  2. มีคนกลางเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงภัยทำให้ผู้ผลิตใช้ทุนน้อยกว่าเดิม

 ข้อเสีย
  1.  ทำให้ผู้ผลิตไม่ทราบถึงความต้องการของผู้บริโภค
  2.  ราคาสินค้าจะสูงขึ้นถ้าผ่านพ่อค้าคนกลางหลายคน
         จะเห็นได้ว่าช่องทางจัดจำหน่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่างก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเลือกใช้ช่องทางในการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการของตนเองมากที่สุด

การค้าส่ง หมายถึง(wholesaling) 

            กิจกรรมการขายสินค้าและบริหารให้กับผู้ซื้อเพื่อนำไปขายต่อหรือซื้อไปใช้ประกอบธุรกิจการค้าส่ง จึงเป็นกิจกรรมทางการตลาดในการขายสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อไม่ได้ซื้อไปเพื่อการอุปโภค บริโภคบุคคลที่ดำเนินกิจกรรม ด้านการขายส่งอาจจะเป็นผู้ที่ขายสินค้าให้กับ ผู้ค้าปลีกซึ่งผู้ค้าปลีก จะซื้อไปขายให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง หรืออาจจะเป็นผู้ที่ขายสินค้าให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ซื้อไปเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการผลิต ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ หรืออาจจะเป็นสินค้าอำนวยความสะดวกในองค์กรการผลิตสินค้าและบริการ

ความสำคัญของการค้าส่ง 

การค้าส่งมีบทบาทและความสำคัญทางด้านการตลาด ดังนี้

• ความสำคัญของการค้าส่งต่อผู้ผลิต การค้าส่งมีความสำคัญต่อผู้ผลิตในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 
            1. ช่วยเหลือผู้ผลิตในการขายสินค้าการค้าส่งจะเข้ามาช่วยเหลือผู้ผลิตในการขายสินค้าทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนเป็นการลดภาระ ของผู้ผลิตในด้าน การจัดจำหน่ายที่จะกระจายสินค้าไปให้กับพ่อค้าปลีกอีกต่อหนึ่งในส่วน ด้านการผลิตตามที่ตนเองถนัด
            2 เก็บรักษาสินค้าการค้าส่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บรักษาสินค้าจากแหล่งผลิตหลายๆแหล่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าคือ”พ่อค้าปลีก”ทำให้ผู้ผลิตลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้าลงไปได้จำนวนมาก 
            3. ช่วยเหลือด้านการเงิน การค้าส่งจะให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตในด้านการเงินในกรณีที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า การค้าส่งจึงเข้ามาช่วยเหลือด้านการเงิน หรือเงินทุน ให้ผู้ผลิตสามารถขยายตัวด้านการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนการนำเงินทุนไปใช้ในการกระจายสินค้าผู้ค้าปลีกโดยตรงโดยเฉพาะผู้ค้าปลีกขนาดเล็กที่มีฐานะทางการเงินไม่ค่อยมั่นคงและผู้ผลิตขายสินค้าผ่าน ผู้ค้าส่งที่มีความรู้ความสามารถ ในการคัดเลือกลูกค้าที่มีฐานะด้านการเงินดีภาระหน้าที่ด้านการเงินจึงเป็นหน้าที่ของผู้ค้าส่งที่จะจัดการแทน
            4. ให้ข้อมูลด้านการตลาดผู้ค้าส่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดทั้ง 2 ฝ่ายคือผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกจึงมีข้อมูลต่าง ๆ ทางการตลาด เช่น ความต้องการของลูกค้า แฟชั่นหรือสมัยนิยมให้กับผู้ผลิตขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก้ผู้ค้าปลีกเกี่ยวกับราคาคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าเป็นต้น 
            5. ช่วยเหลือผู้ผลิตในการโฆษณาและส่งเสริมการขายโดยการทำหน้าที่โฆษณาและ ส่งเสริมการขายกับผู้ค้าปลีกแทนผู้ผลิตเช่นติดป้ายโฆษณา ณ ร้านค้าส่ง หรือลดแลก แจกแถมให้กับผู้ค้าปลีก

• ความสำคัญของการค้าส่งต่อผู้ค้าปลีก การค้าส่งมีความสำคัญต่อผู้ค้าปลีกในด้านต่างๆ ดังนี้
            1. เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าสำหรับผู้ค้าปลีกเพราะผู้ผลิตมีความต้องการจะขายสินค้า คราวละมาก ๆ แต่ผู้ค้าปลีกจะซื้อเพียงพอต่อการขายส่วนผู้ค้าส่งจะรวบรวมสินค้าจากผู้ผลิตหลายๆ รายเข้าไว้ด้วยกันแล้วขายต่อให้กับผู้ค้าปลีกตามต้องการ
            2. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อผู้ค้าส่งเป็นคนกลางสำคัญที่ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกในการลดค่าใช้จ่ายใน การจัดซื้อและการขนส่งเนื่องจาก ผู้ค้าส่งจะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าเข้าไว้ด้วยกันซึ่งผู้ค้าส่งมีนโยบาย ในการบริการด้านการขนส่ง ให้กับร้านค้าปลีกจึงทำให้ต้นทุนสินค้าที่ซื้อถูกลง
            3. ให้บริการด้านสินเชื่อ ผู้ค้าส่งมีความใกล้ชิดกับผู้ค้าปลีกทำให้ทราบฐานะทางการเงินเป็นอย่างดี จึงสามารถให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ค้าปลีกได้ดีกว่าผู้ผลิต 
            4. จัดกลุ่มสินค้าใหม่นอกจากผู้ค้าส่งจะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าแล้วยังทำหน้าที่จัดหมวดหมู่ของสินค้าใหม่เพราะผู้ผลิตแต่ละรายจะผลิตสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดหากไม่มีผู้ค้าส่งจะทำให้ผู้ค้าปลีกต้องติดต่อกับผู้ผลิตหลายๆ รายทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงดังนั้นผู้ค้าส่งจะนำสินค้าที่ได้มาจากแหล่งผลิตต่าง ๆ มาจัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ ทำให้สินค้าขายง่ายเพิ่มปริมาณการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
            5. เป็นแหล่งข้อมูลและให้คำแนะนำผู้ค้าส่งจะทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลและให้คำแนะนำต่าง ๆ ด้านการตลาดให้แก่ผู้ค้าปลีกเช่นให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตกแต่งร้านการจัดสต๊อกสินค้าการจัดทำบัญชีการส่งเสริมการขายและการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราคาเพื่อให้ผู้ประกอบการค้าปลีกนำไปบริหารจัดการร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้

• ความสำคัญของการค้าส่งต่อผู้บริโภค การค้าส่งมีความสำคัญต่อผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ ดังนี้
            1. ช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าและบริการอย่างทั่วถึงการค้าส่งมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าและบริการด้วยความสะดวกและรวดเร็วอย่างทั่วถึงในวงกว้าง เช่นผู้บริโภคในเมืองมีเครื่องรับโทรทัศน์ไว้ดูขณะเดียวกันผู้บริโภคในชนบทห่างไกลก็มีเครื่องรับโทรทัศน์ไว้ดูเช่นเดียวกันกับผู้คนในเมือง
            2. เป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งเพื่อนำไปปรับปรุงวิธีการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคเอง 
            3. ช่วยให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าและบริการอย่างยุติธรรม

ประเภทของผู้ค้าส่ง

         ผู้ค้าส่ง   หมายถึงบุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำหน้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายและนำไปขายส่งให้กับผู้ค้าปลีกหรือพ่อค้าปลีกเพื่อขายต่อให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย
        1. ผู้ค้าส่งที่ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าขายส่ง เป็นกลุ่มผู้ค้าส่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีลักษณะสำคัญคือเป็นเจ้าของกิจการที่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ซื้อขายมีการดำเนินกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
            1.1 ผู้ค้าส่งที่ให้บริการเต็มที่ ผู้ค้าส่งประเภทนี้จะให้บริการสินค้าต่าง ๆ เต็มที่ เช่นการขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ 
                    1) ผู้ค้าส่งที่ขายสินค้าให้กับผู้ค้าปลีก ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
                    2) ผู้ค้าส่งที่เป็นผู้ขายสินค้าให้กับหน่วยงานอุตสาหกรรม 
            1.2 ผู้ค้าส่งที่ให้บริการลูกค้าจำกัด ผู้ค้าส่งประเภทนี้จะให้บริการแก่ลูกค้าค่อนข้างจำกัดส่วนใหญ่จะให้บริการตามที่ผู้ค้าส่งถนัด
                    1) ผู้ค้าส่งที่ขายสินค้าเป็นเงินสดและให้ลูกค้าขนส่งสินค้าเอง 
                    2) ผู้ค้าส่งที่รับคำสั่งซื้อผู้ค้าส่งประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรักษาสินค้าไว้กับตัวเอง มีเพียงสำนักงานให้ลูกค้าติดต่อสั่งซื้อสินค้าเท่านั้น 
                    3) ผู้ค้าส่งเร่ เป็นผู้ค้าส่งที่นำสินค้าประเภทที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานไปเร่ขายให้กับร้านค้าปลีกที่อยู่ห่างไกล
                    4) ผู้ค้าส่งที่ขายสินค้าทางไปรษณีย์ลักษณะของการค้าส่งไปรษณีย์นี้ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องพบปะกัน 
                    5) ผู้ค้าส่งฝากขายสินค้าผู้ค้าส่งประเภทนี้จะนำสินค้าไปฝากขายตามร้านค้าปลีกทั่วไป
                    6) ผู้ค้าส่งในรูปของสหกรณ์ผู้ผลิต 
           2. ผู้ค้าส่งที่เป็นสาขาและสำนักงานของผู้ผลิต ผู้ค้าส่งประเภทนี้เป็นผู้ค้าส่งที่ผู้ผลิตจัดตั้งขึ้นให้ทำหน้าที่ขายส่งสินค้าที่ผลิตได้ในรูปของการเปิดสำนักงานขาย หรือห้องจัดแสดงสินค้าเช่นสำนักงานขายเครื่องใช้ไฟฟ้าของโซนี่ โชว์รูมรถยนต์ การจัดตั้งสาขาและสำนักงานของผู้ผลิต จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการตลาดและการควบคุมสินค้าคงเหลือ
           3. ผู้ค้าส่งประเภทตัวแทนคนกลาง ลักษณะการทำงานจองตัวแทนประเภทนี้จะทำหน้าที่คล้ายกับผู้ค้าส่ง แต่มีความแตกต่างที่ตัวแทนคนกลางไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าเหมือนผู้ค้าส่งแต่จะทำหน้าที่ประสานงานด้านต่าง ๆ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น ตัวแทนคนกลางแบ่งออกได้ดังนี้
                3.1 ตัวแทนขายหรือตัวแทนจำหน่ายเป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ผลิตมากกว่าคนกลางประเภทอื่น
                3.2 ตัวแทนผู้ประกอบการทำหน้าที่คล้ายกับตัวแทนจำหน่ายโดยตกลงทำสัญญากับผู้ผลิตช่วยขายสินค้าให้
                3.3 นายหน้าเป็นคนกลางที่มีความสำคัญที่สุดเป็นคนกลางที่มีจำนวนมากมีความเป็นอิสระ
                3.4 คนกลางที่ทำหน้าที่รับฝากขายคนกลางประเภทนี้จะมีลักษณะแตกต่างจากคนกลาง
จะสังเกตได้ว่า ในการประกอบธุรกิจผู้ผลิตย่อมไม่ต้องการให้มีคนกลางค้าส่งเข้ามาอยู่ในระบบตลาดเพราะผู้ค้าส่งจะแบ่งกำไรที่ผู้ผลิตควรจะได้รับไปบางส่วนหากผู้ผลิตตัดคนกลางค้า ส่งออกไปย่อมจะไม่ได้รับความสะดวกในการปฏิบัติงานซึ่งการเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายด้วยตนเองจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการจำหน่ายสูง เพราะลูกค้ามีกระจายอยู่ทั่วไป ปัญหาต่างๆ ด้านการจำหน่ายอาจจะเกิดขึ้นทำให้ผู้ผลิตขาดความชำนาญเฉพาะด้านเพราะต้องทำหลายหน้าที่เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคไม่ใช่เพื่อธุรกิจการค้าปลีกจึงเป็นการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคซึ่งซื้อสินค้านั้นไปเพื่อบริโภคของตนเองและบุคคลในครอบครัวโดยมพ่อค้าปลีก เป็นคนกลางที่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหรือพ่อค้าคนกลางอื่น ๆ แล้วนำไปขายตรงให้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อไปใช้เอง
         การค้าปลีก  เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การขายสินค้าและบริการลูกค้าหรือผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ส่วนตัวไม่ใช่เพื่อธุรกิจ บทบาทของการค้าปลีกที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม บทบาทของการค้าปลีกที่มีต่อเศรษฐกิจ ดังนี้ 
               1. อรรถประโยชน์ด้านสถานที่ผู้ประกอบการจะต้องเสนอขายสินค้าและบริการไปยังสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ
               2. อรรถประโยชน์ด้านเวลาความต้องการของลูกค้าเกิดขึ้นได้ทุกเวลาผู้ประกอบการจะต้องมีสินค้าสต๊อกไว้ 
               3. อรรถประโยชน์ด้านความเป็นเจ้าของ ผู้ประกอบการจะต้องเสาะแสวงหาสินค้าเพิ่มจำหน่ายให้กับลูกค้า
              4. อรรถประโยชน์ด้านรูปแบบกิจการค้าปลีกจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการบริการโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

บทบาทของการค้าปลีกที่มีต่อสังคม มีดังนี้

             1. ช่วยสร้างมาตรฐานการครองชีพ
             2. ช่วยในการกระจายสินค้าในระบบการค้าเสรีลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าและบริการด้วยตนเอง
             3. ช่วยอำนวยความสะดวก ธุรกิจค้าปลีกทำหน้าที่เป็นคนกลางกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
             4. ให้บริการชุมชนธุรกิจค้าปลีกมีบทบาทในการให้บริการชุมชนหลาย ๆ ด้าน

ประเภทของการค้าปลีก

              1. ร้านขายของชำหรือร้านโซห่วย (GroceryStore) เป็นร้านค้าแบบดั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดมีขนาดเล็กเป็นร้านค้าแบบห้องแถวขนาด 1-2 คูหาจำหน่ายหรือขายสินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
              2. ร้านสะดวกซื้อ (Conveniencd Store)  เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กขายของชำหรือสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่มีรูปแบบการจัดร้านและการจัดการสินค้าเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้า
              3. ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าแบบให้บริการตัวเอง มีการจัดแผนกของสินค้าเป็นหมวดหมู่มุ่งเน้นการจำหน่ายหรือขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเช่นสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านโดยให้ความสำคัญที่ความสดใหม่ และความหลากหลายการขายของร้านค้าปลีกประเภทนี้จะให้ลูกค้าบริการตนเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายจึงสามารถขายสินค้าได้ในราคาถูกและมีอัตราการหมุนเวียนสินค้าที่รวดเร็ว เพื่อลดต้นทุนสินค้าลดความเสี่ยงต่อสินค้าเสื่อมคุณภาพและลดการสูญหายให้น้อยลง เช่น ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกต ฟู้ดแลนด์ 
             4. ห้างสรรพสินค้า เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จำหน่ายหรือขายสินค้าหลากหลายชนิดทั้งสินค้าจำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เครื่องเรือน และของใช้ในครัวเรือน สินค้เหล่านี้มีหลายสายผลิตภัณฑ์แต่ละสายผลิตภัณฑ์มีผลิตภัณฑ์หลายรายการให้ลูกค้าได้เลือกซื้อมีการบริหารจัดการสินค้าออกเป็นแผนก ๆ หรือเป็นหมวดหมู่ชัดเจนตลอดจนมีการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร 
             5. ดิสเคาน์สโตร์  เป็นร้านค้าปลีกที่เน้นการขายสินค้าราคาถูกมีสินค้าให้เลือกหลากหลายชนิด มีการให้บริการจำกัด โดยทั่วไปร้านค้าปลีกประเภทนี้จะเน้นการจำหน่ายหรือขายสินค้าประเภทของใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับปานกลางจนถึงระดับต่ำ 
             6. ร้านสรรพาหารขนาดใหญ่  เป็นรูปแบบของร้านค้าปลีกที่พัฒนามาจากซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้หลากหลายและครบวงจร ร้านค้าปลีกประเภทนี้มีพื้นที่กว้างขวางใหญ่เป็น 2 เท่าของซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป โดยแบ่งพื้นที่ร้อยละ 25 จัดวางสินค้าประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเสื้อผ้า เป็นต้น 
             7. ร้านไฮเปอร์มารท์  เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาร้านค้าปลีกทุกประเภทเพราะเป็นร้านค้าปลีกแบบคลังสินค้า ที่เกิดจากการนำหลักการจัดร้านค้าแบบซูเปอร์สโตร์และร้านค้าปลีกแบบขายราคาถูก (Discount Store) เข้าไว้ด้วยกันร้านไฮเปอร์มาร์ทมีพื้นที่กว้างขวางมากมีอาคารคล้ายคลังสินค้ามีสินค้าจำหน่ายหรือขายหลากหลายกว่า 50,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูก

ปัญหาในการประกอบการค้าปลีก

            ในการประกอบธุรกิจทุกประเภทย่อมมีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากหลายปัจจัยซึ่งผู้ประกอบการจะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปการประกอบธุรกิจค้าปลีกโดยทั่วไปมักประสบกับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ 
             1. สินค้าขาดชั้นวางเมื่อลูกค้าหรือผู้บริโภคเดินเข้าไปในร้านค้าปลีก บางครั้งจะพบชั้นวางสินค้าว่างเปล่าสำหรับร้านที่มีระบบบริหารจัดการจะติดป้ายบอกลูกค้าว่า “ ขออภัยสินค้าขาดชั่วคราว”
             2. สินค้าล้นสต๊อกกรณีที่ผู้ประกอบการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมากซึ่งจะได้ส่วนลดทำให้ต้นทุนต่ำโดยมุ่งหวังเพื่อเก็งกำไรอาจเป็นการคาดคะเนยอดขาดผิดพลาด
             3. สินค้าเสียหายการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคบางชนิด เช่น อาหารสดผักและผลไม้
             4. มีบุคคลเกี่ยวข้องจำนวนมากการค้าปลีกในอดีตมีบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเริ่มต้นจากพนักงานขายเสนอขายสินค้าให้กับฝ่ายจัดซื้อฝ่ายจัดซื้อจะเสนอรายละเอียดต่อผู้จัดการและเจ้าของกิจการตามลำดับ
             5. เอกสารการสั่งซื้อไม่ตรงกันในการสั่งซื้อสินค้าระบบการสั่งซื้อของร้านค้าปลีกบางแห่งจะต้องออกใบสั่งซื้อเพื่อให้ผู้ผลิตใช้ในการจัดส่งสินค้าและป้องกันการขนส่งสินค้าที่ผิดพลาด
             6. การทำงานไม่มีประสิทธิภาพหากกิจการใดมีบุคลากรทำงานไม่มี่ประสิทธิภาพย่อมเกิดปัญหาเกี่ยวกับการตั้งราคาซื้อกับราคาของผู้ผลิตไม่ตรงกันทำให้ระบบบัญชีได้ผลกระทบมีความวุ่นวาย
             7. ต้นทุนการดำเนินงานสูงเป็นปัญหาสำคัญของการดำเนินงานสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกไทยที่ไม่สามารถลดต้นทุนแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติได้ เช่น เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์
             8. การจัดส่งไม่มีประสิทธิภาพการจราจรในเขตเมืองเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ระบบการจัดส่งสินค้าไม่ตรงเวลา โดยเฉพาะผู้ผลิตที่ไม่มีพาหนะของตนเองทำให้ไม่สามารถควบคุมประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าได้
             9. การเก็บข้อมูลด้านการตลาดการประกอบธุรกิจค้าปลีกของไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลด้านการตลาดในเชิงสถิติต่าง ๆ บางแห่งมีการเก็บโดยการใช้คนทำให้การใช้ข้อมูลในแต่ละครั้งไม่ทันสมัยและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
           10. ความยุ่งยากของงานระบบงานของธุรกิจค้าปลีกมีความซับซ้อนการจัดองค์กรเป็นแบบหน้าที่ส่วนการบริหารงานสมัยใหม่จะเป็นระบบเครือข่าย (Network) ซึ่งมีผลให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีมาตรฐาน

หน้าที่ของผู้ประกอบการค้าปลีก

การประกอบการค้าปลีก ผู้ประกอบการมีหน้าที่ ดังนี้
            1. จัดหาสินค้าที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องจัดหาหรือผลิตสินค้าในด้านจำนวนเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม (Right Time Place) มาจำหน่ายหรือขายให้ลูกค้า
            2. เลือกสินค้าที่ขายง่ายผู้ประกอบการค้าปลีกควรพิจารณาเลือกสินค้าที่ลูกค้าต้องการใช้แล้วจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายเพื่อสร้างความสนใจและอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเช่นการโฆษณาการจัดแสดงสินค้าและการให้พนักงานขายคอยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าอย่างใกล้ชิดซึ่งจะทำให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
            3. ให้ความสะดวกแก่ลูกค้าเพื่อช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้สะดวกผู้ประกอบการควรช่วยเหลือลูกค้าให้ได้สินค้าตามความต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้สินเชื่อ การให้บริการด้านความสะดวกเกี่ยวกับที่จอดรถ การให้บริการหลังการขาย เป็นต้น
            4. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องสังเกตจากอุปนิสัยของลูกค้า เช่น ต้องการความสะดวกในการเดินทาง มีสถานที่กว้างขวางในการจับจ่ายใช้สอยและมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย

แนวโน้มการค้าปลีกในอนาคต

การค้าปลีกในอนาคตจะมีลักษณะดังนี้
             1. เป็นการค้าเสรีรูปแบบการค้าปลีกจะเป็นเสรีมากขึ้นหรือเป็นยุคการค้าไร้พรมแดนเนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
             2. พฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภคเปลี่ยนไปสภาพสังคมปัจจุบันทำให้การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไปต้องรับเร่งให้ทันเวลาทำให้เกิดความต้องการความสะดวกสบายจากการใช้สินค้าและบริการ
             3. มุ่งเน้นต้นทุนผู้ประกอบการค้าปลีกโดยทั่วไปพยายามลดต้นทุนเพื่อให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น
             4. เป็นยุดข้อมูลข่าวสารผู้ประกอบการจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
ด้วยความรวดเร็วที่สุด
             5. เป็นสังคมที่ต้องช่วยเหลือตนเองและการสร้างเครือข่าย
             6. ผู้ประกอบการมีการศึกษา มีความรู้สูง
             7. เป็นยุคของผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจเจ้าของคนเดียว


การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion)

          คำว่า “การส่งเสริมการจำหน่าย” มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
วีรยา ภัทรอาชาชัย (2538:หน้า 195) กล่าวว่าการส่งเสริมการจำหน่ายคือการทำให้ผู้บริโภครู้ว่ามีผลิตภัณฑ์อยู่ในตลาดและรู้ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นการเพิ่มมูลค่าที่แท้จริงให้แก่การเสนอขายของธุรกิจทำให้การเสนอขายมีคุณค่าได้รับความสนใจและบรรลุเป้าหมายในการขาย 
สุดาดวง เรืองรุจิระ (2541:หน้า 266) กล่าวว่าการส่งเสริมการตลาดคือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะให้ข้อมูลชักชวนเร่งเร้าจูงใจให้ลูกค้าเป้าหมายตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เสนอขาย 
ปราณี กองทิพย์ และมังกร ปุมกิ่ง (2539:หน้า142) กล่าวว่าการส่งเสริมการตลาดหมายถึงกระบวนการติดต่อสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวสารส่วนประสมทางการตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อจูงใจชักชวนสร้างทัศนคติเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อ โดยอาศัยสื่อกลางและเครื่องมือกิจกรรมต่าง ๆ สนับสนุน
การส่งเสริมการขาย หมายถึง ความพยายามของกิจการที่จะทำให้ลูกค้าให้มากที่สุดมีส่วนแบ่งการตลาดมากและตลอดไปการส่งเสริมการขายควรรวมถึงการให้ข่าวสารและการมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของผู้บริโภควัตถุประสงค์จของการส่งเสริมการขายคือการสร้างภาพลักษณ์ของกิจการให้ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณการขายของกิจการให้สูงขึ้น (นภาพร ขันธนาภา อ้างใน สมคิด บางโม,2547:หน้า 203)
จึงสามารถกล่าวได้ว่า การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ข้อมูลจูงใจชักชวนสร้างทัศนคติและสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่เสนอขายโดยอาศัยสื่อกลางและเครื่องมือต่าง ๆ



วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการจำหน่าย

การส่งเสริมการจำหน่ายมีวัตถุประสงค์ดังนี้
           1. เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพราะก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าใด ๆ ผู้บริโภคจะต้องทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้าก่อนว่า มีคุณประโยชน์และจำเป็นที่จะต้องใช้หรือต้องซื้อหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอสินค้าและบริการที่เข้าไปในตลาดใหม่ ๆ 
           2. เพื่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมโน้มน้าวและชักจูงหลังจากให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการแล้วนักการตลาดย่อมต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง ค่านิยมของผู้บริโภคให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้สินค้า และพยายามโน้มน้าวชักชวนให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกคล้อยตามเพื่อนำไปสู่การซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ 
           3. เพื่อเตือนความทรงจำสินค้าและบริการบางอย่างมีการผลิตออกมานานและผู้บริโภครู้จักสินค้าชนิดนั้นเป็นอย่างดี เคยทดลองใช้เคยใช้หรือเป็นลูกค้าประจำอยู่แล้ว แต่ตลาดสินค้าชนิดนี้มีการแข่งขันกันสูง ผู้ผลิตจึงต้องเตือนความจำของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ลูกค้านึกถึงสินค้าชนิดนี้อยู่ตลอดเวลากิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย กิจกรรมในการส่งเสริมการจำหน่ายสามารถทำได้หลายวิธีปัจจุบันกิจกรรมที่นิยมใช้ได้แก่ 
          • การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการขายสินค้าและบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหรือผู้บริโภคโดยผ่านสื่อกลางหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อนั้น ๆ เช่น
              1. โทรทัศน์ (Television) เป็นสื่อโฆษณาที่ทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ดีที่สุดเพราะเกิดการรับรู้ได้ง่ายทั้งสี แสง เสียง และภาพเคลื่อนไหวแต่มีข้อเสีย คือเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก อายุการโฆษณาสั้น
              2. วิทยุ (Radio) เป็นสื่อที่สามารถครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคได้กว้างทุกเวลา เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโทรทัศน์แต่มีข้อเสีย คือเป็นการฟังเพียงอย่างเดียวทำให้การรับรู้ไม่ดีนัก
              3. สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ (Newspaper) นิตยสาร (Magazine) หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและยังแบ่งออกเป็นกลุ่มตามระดับอายุการศึกษาเพศทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามต้องการได้แต่มีข้อเสียคืออายุของสื่อหนังสือพิมพ์มีอายุสั้นเพียงวันเดียว ส่วนนิตยสารมีข้อดี คือ มีอายุนานกว่าหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่สามารถใช้ภาพเพื่อชักจูงและสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ตามต้องการ
               4 สื่อโฆษณากลางแจ้ง (Outdoor Advertising) สื่อโฆษณาประเภทนี้จะไม่เจาะจงไปที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายแต่จะใช้เพื่อเตือนความทรงจำของผู้บริโภคที่สัญจรไปมา เช่น ป้ายโฆษณาต่าง ๆ 
5. การโฆษณาตามยานพาหนะ (Transit Advertising) เป็นโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
เฉพาะคือ กลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะ และเสียค่าใช้จ่ายน้อย
           • การใช้พนักงาน (Personal Selling) เป็นกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายที่ใช้พนักงานขายเป็นผู้นำเสนอขาย ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นการสื่อสารสองทาง มีการพบหน้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ทำให้สามารถทราบปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ซื้อทันทีว่า จะซื้อสินค้าและบริการนั้นหรือไม่ แต่มีข้อเสียคือเสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น หากจะเสนอวิธีการส่งเสริมการจำหน่ายโดยใช้พนักงานขาย สินค้าและบริการจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
            1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีจำนวนน้อยและอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน 
            2. สินค้าและบริการมรการสั่งทำเฉพาะมีราคาค่อนข้างสูงและต้องการคำแนะนำด้านเทคนิคการดูแลหรือบริการพิเศษ เช่น เครื่องจักประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้แล้ว พนักงานขายเองจะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐาน ดังนี้ 
                 1) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
                 2) มีความรับผิดชอบ 
                 3) มีความกระตือรือร้นตื่นตัวอยู่เสมอ 
                 4) สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี 
                 5) รู้จักฉวยโอกาสใช้สถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ 
                 6) ตั้งเป้าหมายใช้สูงและยึดมั่นกับเป้าหมายนั้น มุ่งมั่นทำให้สำเร็จ 
                 7) เรียนรู้จากประสบการณ์หากำไรจากความผิดพลาด และพร้อมเสมอที่จะให้บริการที่ดี
          • การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นกิจกรรมที่เสนอผลประโยชน์พิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อสินค้าในช่วงเวลาที่เร็วขึ้น โดยอาศัยการโฆษณาและการใช้พนักงานช่วยเสริม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีมากมายหลายวิธี ได้แก่ 
            1. การลดราคา (Price-Off) เป็นการลดราคาสินค้าเฉพาะที่ผู้ผลิตมีวัตถุประสงค์ให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้สินค้า หรือสินค้ากำลังจะหมดอายุการใช้งานแต่วิธีนี้หากนำมาใช้บ่อยเกินไปจะทำให้ผู้บริโภคไม่แน่ใจในคุณภาพของสินค้า
             2. การให้ของแถม (Premium) เป็นการเสนอขายสินค้าในราคาทุนหรือต่ำกว่าแก่ผู้บริโภคโดยการให้สินค้าแถม เช่นซื้อยาสีฟันแถมแปรงสีฟัน เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคยอมรับทดลองใช้สินค้ามากขึ้น และมองเห็นว่าตนเองได้รับคุณค่าจากสินค้าและบริการนั้น
             3. การแจกของตัวอย่าง (Sample) มักจะนิยมใช้กับสินค้าใหม่ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาไม่แพงวิธีนี้จะมีต้นทุนสูงและสินค้าอาจจะตกอยู่ในมือของผู้บริโภคที่ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้
             4. การสาธิต (Demonstration) เป็นการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และวิธีการใช้สินค้านั้น เพื่อนำไปสู่การซื้อและการขายได้
             5. การจัดแสดงสินค้า (Exhibition) เป็นการจัดตกแต่งร้านค้าหรือจัดโชว์สินค้าให้ผู้บริโภคเข้าชม และคาดหวังว่าผู้เข้าชมจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เหมาะสำหรับสินค้าที่มีราคาค่อนข้างแพงหรือสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
          • การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)  เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ภาพพจน์ ความเชื่อถือศรัทธาต่อองค์กรธุรกิจมากกว่าการเสนอขายผลิตภัณฑ์ซึ่งการเผยแพร่ข่าวสารอาศัยสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์โดยเจ้าของกิจการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจจัดขึ้น เพื่อเป็นการแสดงให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าธุรกิจให้ความสำคัญต่อสังคม เช่น การสร้างสวนสาธารณะ การบริจาคเงินการกุศลการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนแต่เรียนดีรวมถึงการเผยแพร่รายการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวม เป็นต้น

พฤติกรรมของผู้บริโภค

              พฤติกรรมของผู้บริโภค หมายถึงการแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริการทางเศรษฐกิจพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานของครอบครัวสังคมวัฒนธรรมลักษณะส่วนบุคคลและจิตวิทยา

ลักษณะของตลาดผู้บริโภค ตลาดผู้บริโภคมีลักษณะดังนี้

             1. จำนวนลูกค้า ผู้ซื้อหรือลูกค้าที่อยู่ในตลาดผู้บริโภคประกอบด้วยบุคคลในครอบครัวที่มีความแตกต่างกัน ตาม อายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ รสนิยม ในการซื้อสินค้าและบริการซึ่งผู้ผลิตจะต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้เหมาะสมตามความต้องการและความจำเป็นของผู้บริโภคหรือลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
              2. สินค้าและบริการที่ซื้อขาย ปัจจุบันมีสินค้าและบริการที่ซื้อขายในตลาดอยู่เป็นจำนวนมากสามารถแบ่งตามลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าถาวร สินค้าไม่ถาวร และบริการหรือแบ่งตามลักษณะการซื้อเป็นสินค้าสะดวกซื้อ สินเค้าเปรียบเทียบซื้อ สินค้าเจาะจงซื้อ และสินค้าไม่ตั้งใจซื้อ
              3. อัตราการซื้อของผู้บริโภค โอกาสในการซื้อของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับอัตราการบริโภค หากครอบครัวใดมีจำนวนสมาชิกมากโอกาสในการซื้อจะถี่ขึ้น หรืออาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่เทศกาลฤดูกาลประเพณีต่างๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ ผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยสินค้าประเภทของขวัญของที่ระลึกอาหารขนมและเครื่องดื่มมากขึ้นฤดูหนาวจะมีการซื้อเสื้อกันหนาวฤดูร้อนต้องการซื้อพัดลมเครื่องปรับอากาศนอกจากนี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจยังมีผลกระทบต่อโอกาสการซื้อเช่นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนไม่มีงานทำหรือมีรายได้น้อยสินค้ามีราคาแพงทำให้ผู้บริโภคเลื่อนการตัดสินใจซื้อออกไป เป็นต้น
              4. บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการซื้อ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการซื้อมา 5 กลุ่ม ดังนี้
                  4.1. ผู้ริเริ่ม หมายถึงบุคคลที่เสนอหรือให้คำแนะนำความคิดในการซื้อสินค้าและบริการในครอบครัวแม่บ้านอาจเป็นผู้ริเริ่มซื้อเครื่องซักผ้ามาใช้ในบ้าน เพื่อความสะดวกสบายประหยัดเวลาทำงานหรือบุตรที่อยู่ในวัยเรียนให้ผู้ปกครองซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการค้นข้อมูลเป็นต้น
                  4.2. ผู้มีอิทธิพล หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่กระตุ้นหรือให้ข่าว หรือให้ข้อความชักจูงใจให้มีการซื้อเกิดขึ้น เช่น ผู้บังคับบัญชาในองค์กรนั้น ๆ
                  4.3. ผู้ตัดสินใจ หมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่ตัดสินใจซื้อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการบางประเภทผู้ริเริ่มอาจจะเป็นคนเดียวกันหรือคนละคนกับผู้ตัดสินใจซื้อได้ เช่นการซื้อรถยนต์ผู้ริเริ่มเป็นพ่อบ้าน ส่วนการตัดสินใจซื้อและการเลือกสีแม่บ้านจะเป็นผู้ตัดสินใจ
                  4.4. ผู้ซื้อ หมายถึงบุคคลที่ลงมือซื้อโดยนำเงินไปแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการนั้น
                  4.5. ผู้ใช้ หมายถึงบุคคลที่นำสินค้าและบริการไปบริโภคซึ่งอาจจะเป็นผู้นำวัตถุดิบไปแปรรูป หรือผู้บริโภคที่นำสินค้าไปใช้ประโยชน์เพื่อตนเองและครอบครัว


วัตถุประสงค์ของการซื้อ 

              การซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นทางด้านร่างกายจิตใจสังคมและวัฒนธรรมพฤติกรรมและกระบวนการซื้อของผู้บริโภค พฤติกรรมและกระบวนการซื้อของผู้บริโภคเป็นไปได้โดยมีสาเหตุ แรงจูงใจจุดมุ่งหมายรูปแบบการซื้อและการตัดสินใจซื้อซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถคาดคะเนความต้องการของผู้บริโภคได้เมื่อมีปัจจัยทางการตลาดมาเกี่ยวข้องเช่นการจัดแสดงสินค้า การโฆษณาการบรรจุหีบห่อเป็นต้นผู้ประกอบการสามารถออกแบบและกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แท้จริงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจทางการตลาด ผู้บริโภคมีความสำคัญที่สุดของการตลาดซึ่งผู้ประกอบการจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีสาเหตุแรงกระตุ้นและจุดมุ่งหมายในการซื้อต่างกันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจทางการตลาดได้แก่
             1. ลักษณะของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ ผู้บริโภคแต่ละคนมาจากสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกันสังคมในระดับครอบครัวมีส่วนในการหล่อหลอมลักษณะของผู้บริโภคอันเป็นสาเหตุให้ผู้บริโภครับแรงกระตุ้นและมีจุดมุ่งหมายในการเลือกซื้อไม่เหมือนกัน
              2. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ หมายถึง รูปร่างรูปแบบคุณภาพของสินค้าและบริการซึ่งผู้ประกอบการสามารถควบคุมและบริหารจัดการให้เป็นแรงกระตุ้นภายนอกดึงดูดใจผู้บริโภคให้มีความสนใจและต้องการซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัสดุที่มีสีสันสวยงามดึงดูดใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า เป็นต้น
              3. ลักษณะของผู้ขาย ปัจจุบันอาชีพงานขายได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพนักงานขายปลีกได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ความสามารถในงานขายมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นกันเองร่าเริงแจ่มใสมีใจรักในการบริการและมีจริยธรรมในงานอาชีพซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ได้
              4. สถานการณ์ในการซื้อ ในการซื้อขายสินค้าและบริการผู้บริโภคจะใช้เวลาในการตัดสินใจแตกต่างกันโดยทั่วไปผู้บริโภคจะถูกบังคับให้ตัดสินใจซื้อในระยะเวลาจำกัด แต่ถ้ามีเวลามากมักจะพิถีพิถันในการเลือกซื้อนอกจากนี้เทศกาลยังมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น เทศกาลปีใหม่บัตรอวยพร (ส.ค.ส.) จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากเมื่อล่วงเลยปีใหม่ไปแล้วความต้องการก็จะลดลง เป็นต้น

ปัจจัยด้านวัฒนธรรม

             ปัจจัยด้านวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อข้องผู้บริโภคมากที่สุดเพราะบุคคลทั่วไปจะต้องมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเองตามถิ่นอาศัยที่ได้สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานโดยมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคหรือผู้ซื้อดังนี้
             1. วัฒนธรรม เป็นพื้นฐานในการกำหนดความต้องการและพฤติกรรมของทุกคน เช่นวัฒนธรรมไทยมีรากฐานมา จากศาสนาพุทธทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายสมถะ รักความเป็นอิสระดังนั้นการจูงใจที่จะให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า และบริการจึงต้องมุ่งเน้น การกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าชนิดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
             2. เชื้อชาติ ศาสนา ปัจจัยที่จะบ่งบอกถึง พฤติกรรมของผู้บริโภคได้ซึ่งเป็นวัฒนธรรมย่อย ได้แก่เชื้อชาติศาสนาและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ผู้ประกอบการจำเป็นต้อง ศึกษาความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติศาสนา และถิ่นอาศัยของผู้บริโภคให้ถูกต้องจะเกิดประโยชน์ ต่อการซื้อขายเช่นผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม มีวิธีการกำดำเนินชีวิตแตกต่างจากชาวไทยพุทธ คือ จะรับประทานอาหารประเภท ไก่ ปลา และอาหารทะเลซึ่งมีเครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น
              3. ชั้นทางสังคม ในสังคมของมนุษย์ที่อยู่รวมกันมีการแบ่ง ระดับชั้นแตกต่างกันตาอาชีพ ฐานะ ชาติตระกูล สถานะทางสังคม และบุคลิกภาพโดยทั่วไปสังคมแบ่ง เป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ บุคคลในแต่ละระดับชั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงฐานะ ของตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งสูงขึ้น หรือต่ำลง ดังนั้นการ ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจึงขึ้นอยู่กับชั้นทางสังคมที่แต่ละคนอาศัยอยู่เช่นผู้บริโภคที่มีการศึกษาจะซื้อสินค้าด้วยคุณภาพ หรือผู้ที่มีฐานะดีมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าราคาแพงมากกว่าผู้มีฐานยากจนผู้ประกอบการ จึงมีหน้าที่ ที่จะต้องศึกษาลักษณะพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในแต่ละชั้นสังคมโดยเลือกส่วนประสมทางการตลาดให้ เหมาะสม

ส่วนประกอบของพฤติกรรมของผู้บริโภคประกอบไปด้วย

  1. รูปแบบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค
  2. การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
  3. กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
  4. การเปลี่ยนแปลงลักษณะการซื้อของผู้บริโภค

รูปแบบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค

             รูปแบบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์การซื้อและตัวกระตุ้นได้แก่ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย
              1. ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าและบริการซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่ปรากฎเป็นรูปลักษณ์สีสันและประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
              2. การกำหนดราคา เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะต้องคำนึงถึงโดยกำหนดราคาขายให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และมีกำไรจากการขาย
              3. สถานที่จำหน่าย หมายถึงแหล่งขายสินค้าและบริการโดยมีคนกลางได้แก่พ่อค้าส่งพ่อค้าปลีกนายหน้าหรือตัวแทนเข้ามาเกี่ยวข้องในช่องทางการจำหน่าย
             4. การส่งเสริมการตลาด หมายถึงกิจกรรมที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายนำมาใช้เพื่อแนะนำหรือกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่นการโฆษณาการประชาสัมพันธ์การขายโดยใช้พนักงานขาย และการส่งเสริมการขายเป็นต้น
             การซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคจะต้องใช้ตัวกระตุ้นจากส่วนประสมทางการตลาด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ทุกอย่างผสมผสานกันเช่นผู้บริโภคซื้อโทรทัศน์จอแบน เพราะรูปแบบตรงกับความต้องการทันสมัย มีสีสันถูกใจ วางขายในร้านขายสินค้าเฉพาะอย่างประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เชื่อถือได้ มีราคาเหมาะสมมีการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และขายโดยใช้พนักงานขายที่ให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคถึงคุณภาพของสินค้านอกจากนี้ยังมีตัวกระตุ้นอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้เกิดการซื้อของผู้บริโภคให้ง่ายขึ้น เช่น เพื่อนหรือกลุ่มอ้างอิงรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องค้นหาความรู้สึกและพฤติกรรมที่มีต่อสินค้าของผู้บริโภคซึ่งอาจจะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้านั้นเพื่อที่จะใช้ตัวกระตุ้นได้ถูกต้อง 
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเป็นการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ 3 ระดับคือ
            1. การตอบสนองประจำ หมายถึง พฤติกรรมการซื้อที่เป็นสถานการณ์แบบธรรมดาที่สุดที่ผู้บริโภคเคยพบเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นสินค้าราคาถูกและเป็นสินค้าที่ซื้อหาบ่อยครั้งโดยผู้ประกอบการและพนักงานขายจะต้องตอบสนองประจำ ดังนี้ 
                     1.1 ลูกค้าประจำ พนักงานขายจะต้องให้บริการด้วยความเต็มใจส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือและจงรักภักดีต่อตราสินค้าพยายามที่จะรักษาลูกค้าประจำเอาไว้ให้เป็นลูกค้าตลอดไป 
                     1.2 ลูกค้าใหม่ ขณะที่พนักงานขายพยายามรักษาลูกค้าประจำเอาไว้ก็จะต้องแสวงหาลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยพยายามเรียกร้องความสนใจในตราสินค้าและคุณค่าของสินค้าที่ดีกว่าสินค้าเดิมที่ลูกค้าเคยซื้อผู้ประกอบการอาจต้องการขายด้วยการลดราคาแลกสินค้าแจกแถมชิงโชคเป็นต้น
             2. การแก้ปัญหาในวงจำกัด เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ ผู้บริโภคท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสินค้าที่คุ้นเคย รู้จัก และใช้ในชีวิตประจำวันได้แก่ยาสีฟัน ผงซักฟอก ข้าวน้ำปลาน้ำตาลเมื่อมีสินค้าออกใหม่บางชนิดวางตลาด ทำให้เกิดความยุ่งยาก ในการเลือกซื้อผู้บริโภคจะต้องค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าอย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจเช่นการค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตส่วนพนักงานขายจะต้องแก้ปัญหาในวงจำกัดโดยการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับตราสินค้านั้น 
             3. การแก้ปัญหาอย่างลึก เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสินค้าที่ไม่คุ้นเคยหรือรู้จักมาก่อน ทำให้ไม่รู้ ขอบเขตการใช้งาน วิธีการใช้ และการดูแลรักษาตลอดจนประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้สินค้านั้น จึงทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ยากที่สุด เช่นการเลือกซื้อเครื่องเล่น VCD หากผู้บริโภคขาดความรู้เกี่ยวกับสินค้าชนิดนั้น ๆ ก็จำเป็นต้องแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นส่วนพนักงานขายจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคแล้วหาคำตอบสนองความต้องการ เช่นการโฆษณาผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์เป็นต้น

การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค 

 โดยทั่วไปการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ 
            1. ลักษณะความต้องการ เป็นสาเหตุที่ผู้บริโภคมีระดับความต้องการในด้านต่าง ๆ เช่นผู้บริโภคซึ่งมีอาชีพ อยู่ในระดับประถมศึกษา ต้องไปรับ-ส่ง ที่โรงเรียนทุกวันและต้องเดินทางไปพบปะลูกค้าเป็นประจำจึงเกิดความต้องการ ที่จะเดินทางได้สะดวกและรวดเร็วเนื่อง จากสภาพการจราจรติดขัด
            2. ประเภทผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้า และบริการ ที่ผู้บริโภคต้องการซึ่ง สิ่งที่ผู้บริโภคสามารถจัดหาเพื่อตอบสนองความต้องการมี 2 สิ่งคือซื้อพาหนะส่วนตัว กับการซื้อบ้านพักอาศัยใหม่หลังจากประเมินผลทางเลือกแล้วผู้บริโภค เลือกซื้อพาหนะส่วนตัวเพราะราคาถูกกว่าการซื้อบ้านพัก
             3. ชนิดของผลิตภัณฑ์ เมื่อเลือกประเภท ของผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริโภคจะต้องเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น ชนิดของพาหนะส่วนตัวมี หลายชนิดเช่นรถเก๋งรถบรรทุกขนาดเล็กและรถมอเตอร์ไซด์ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกประเภทพาหนะส่วนตัวคือรถเก๋งเพราะความสะดวกสบายของสมาชิกในครอบครัวอาชีพรายได้และบทบาททางสังคม
             4. รูปแบบของผลิตภัณฑ์ เมื่อเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริโภคจะต้องเลือกรูปแบบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น จากการตัดสินใจเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์คือรถเก๋ง แล้วยังต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากรถเก๋งมีหลายสีหลายแบบแบ่งตามกำลังแรงของเครื่องยนต์แบ่งตามเกียร์ที่ใช้มีทั้งเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดาแบ่งตามรูปแบบของประตูซึ่งมีรูปแบบ 2 ประตู หรือ 4 ประตูเป็นต้นการตัดสินใจในขั้นนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์นั้นให้ได้รับประโยชน์คือประหยัดค่าใช้จ่ายและสะดวกต่อการเดินทาง
             5. ตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจซื้อในขั้นนี้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เช่นรถยนต์เก๋งขนาดเล็กมีหลายแบบหลายตราสินค้า
             6. พนักงานขาย พนักงานขายมีหลายระดับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ควรซื้อกับพนักงานขายมืออาชีพที่พร้อมให้บริการอยู่ตลอดเวลาหรือรู้จักเป็นการส่วนตัว
             7. ปริมาณ การที่ผู้บริโภคตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อเป็นจำนวนกี่คันนั้นการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความจำเป็นอัตราการใช้และรายได้ที่มีอยู่
             8. เวลา หลังจากที่ผู้บริโภคตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อจำนวนเท่าใดยังต้องพิจารณาถึงเวลาหรือโอกาสความพร้อมที่จะซื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายได้หรือภาวะเศรษฐกิจฤดูกาลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อ เช่นตัดสินใจซื้อทันทีหรือเลื่อนการตัดสินใจซื้อออกไปก่อนเมื่อมีความพร้อมทางเศรษฐกิจ
             9. การชำระเงิน เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจซื้อแล้วจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกวิธีชำระเงินซึ่งมีหลายทางเลือก ได้แก่การชำระเป็นเงินสด การซื้อผ่อนชำระ หรือการกู้ยืมกับบริษัทเงินทุนเป็นต้น
            การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาจจะตัดสินใจซื้อตามความรู้สึกหรือเหตุผลผู้บริโภคหลายคนอาจจะซื้อผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้คิดล่วงหน้ามาก่อนหรือซื้อเพราะความเคยชินผู้บริโภคจึงไม่จำเป็นต้องตัดสินใจซื้อตามขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งเป็นเพียงการคาดคะเนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดกิจกรรมทางการตลาดให้เหมาะสมด้วยการผลิตหรือจัดหาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตัดสินใจซื้อในที่สุด
กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกระบวนการตัดสินใจซื้อโดยทั่วไปกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
             1. พฤติกรรมก่อนการซื้อ เป็นกระบวนการเริ่มต้นโดยมีแรงจูงใจ หรือถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากตัวกระตุ้นภายในหรือภายนอก ตัวกระตุ้นภายในเกิดจาก ผู้บริโภคเองมี ความต้องการและมองเห็นความจำเป็นของผลิตภัณฑ์ที่จะแก้ปัญหา หรือตอบสนองให้กับตนเองส่วนตัวกระตุ้นภายนอก ได้แก่ความต้องการทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้วจะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมตอบสนองโดยอาศัยการเรียนรู้การแสวงหาข้อมูล และประสบการณ์ในอดีตดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ ทางการตลาดหลายวิธี เช่น การใช้พนักงานขาย การโฆษณา การส่งเสริมการขายการบรรจุภัณฑ์ เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ เหล่านี้
             2. การแสวงหาทางเลือก เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ก็จะแสวงหาทางเลือกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริโภค การหาข้อมูลจะทำให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์รูปลักษณ์วิธีการใช้ และประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นนอกจากนี้ความเชื่อถือที่ผู้บริโภคมีต่อผู้ขายยังเป็นส่วนประกอบของการตัดสินใจซื้อ ได้เป็นอย่างดีปริมาณข้อมูลที่ผู้บริโภคค้นหาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับความต้องการที่ผู้บริโภคเผชิญอยู่ในระดับมากหรือน้อย เวลาในการเลือกซื้อสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องจัดการเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ผู้บริโภคแสวงหามีอิทธิพลเกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมการเลือกเช่นบุคคลในครอบครัวบุคคลใกล้ชิด เพื่อนบ้านสื่อมวลชนพนักงานขายสื่อโฆษณาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
              3. การประเมินผลทางเลือก เมื่อผู้บริโภคได้รับและเข้าใจข้อมูลแล้วก็จะประเมินผลข้อมูลเหล่านั้นเพื่อพิจารณาทางเลือกในการตัดสินใจข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคือ
                   3.1 ความสนใจในลักษณะผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติหลายอย่างแต่ผู้บริโภคจะสนใจเฉพาะคุณสมบัติที่ตนเองต้องการ เช่น การซื้ออาหารรับประทานจะต้องมีรสชาติกลมกล่อม มีปริมาณมากพอกับความต้องการ และมีราคาเหมาะสมซึ่งลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสนใจจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลทางเลือก
                    3.2 ความสำคัญของคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น การซื้ออาหารรับประทานผู้บริโภคบางคนให้ความสำคัญที่รสชาติเป็นอันดับแรกบางคนให้ความสำคัญที่ปริมาณหรือให้ความสำคัญที่ราคาความสำคัญของคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประเมินผลทางเลือก
                    3.3 ความเชื่อถือในตราสินค้า ของผลิตภัณฑ์ความเชื่อถือของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสินค้าที่ค้นเคยหรือรู้จัก ความเชื่อถือในตราสินค้าของผลิตภัณฑ์จึงเป็นข้อมูลในการประเมินทางเลือกประการหนึ่งซึ่งมีวิธีการประเมินผลดังนี้ 
                          1) การเลือกผลิตภัณฑ์ที่เด่นที่สุด โดยการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ชนิด แล้วคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด 
                          2) การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคจะคัดเลือกผลิตภัณฑ์เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ยอมรับและกลุ่มที่ไม่ยอมรับหลังจากนั้นจะคัดกลุ่มที่ไม่ยอมรับทิ้งส่วนกลุ่มที่ยอมรับจะนำไปคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง 
                          3) การกำหนดกฎเกณฑ์ ผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทางด้านคุณภาพปริมาณตราสินค้าและประโยชน์ที่จะได้รับมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดหากมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงตามเกณฑ์ก็จะเลือกผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 
                          4) การให้คะแนน โดยจัดลำดับความสำคัญของคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แล้วให้คะแนนคุณสมบัติแต่ละด้านผลิตภัณฑ์ใดได้คะแนนรวมมากที่สุดก็จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 
                          5) การคาดคะเนมูลค่า โดยการกำหนดน้ำหนักความสำคัญของคุณสมบัติผลิตภัณฑ์แต่ละด้านแล้วนำไปคูณกับคะแนนความเชื่อของผู้บริโภคที่มีต่อคุณสมบัติแต่ละด้านของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ผลลัพธ์เป็นค่าทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์
จากวิธีการประเมินดังกล่าวผู้บริโภคแต่ละคนมีวิธีการประเมินความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบซึ่งมีผู้ประกอบการจะต้องนำผลการประเมินผลิตภัณฑ์ไปปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการและการเลือกซื้อของผู้บริโภค
             4. การตัดสินใจซื้อ หลังจากแสวงหาทางเลือกและประเมินผลทางเลือกแล้ว ผู้บริโภคจะต้องตัดสินใจว่าถ้าซื้อผลิตภัณฑ์นั้นจะสนองความต้องการ และเกิดความพึงพอใจได้หรือไม่ก่อนการตัดสินใจผู้บริโภคจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
                     4.1 ทัศนคติของบุคคลอื่น มีผลต่อผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการซื้อทั้งทัศนคติด้านบวก และด้านลบทัศนคติ ด้านบวกจะมองเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพดีราคาถูก ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น หากเป็นทัศนคติด้านลบจะทำให้มองเห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นราคาแพงคุณภาพไม่ดีทำให้ผู้บริโภคเกิดความลังเลต่อการตัดสินใจ เช่นการซื้อเสื้อผ้าตามแฟชั่นจะทำให้สวมใส่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ตามสมัยนิยมและมีราคาสูงผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยจะไม่ซื้อสินค้าเหล่านี้ 
                     4.2 สถานการณ์ที่คาดคะเนไว้ เป็นความตั้งใจซื้อที่รับอิทธิพลจากระดับรายได้ขนาดของครอบครัวภาวะทางเศรษฐกิจการคาดคะเนต้นทุนการคาดคะเนประโยชน์ที่จะได้รับเช่นพ่อบ้านจะซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่เมื่อได้รับเงินเดือนหน้า หรือครอบครัวที่มีบุตรหลายคนต้องรับส่งไปโรงเรียนทุกวันในปีการศึกษาหน้าบุตรต้องไปโรงเรียนก็จะซื้อรถยนต์เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
                     4.3 สถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้ เป็นสถานการณ์ภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเช่นขณะที่ผู้บริโภคกำลังจะตัดสินใจซื้ออาจมีเหตุให้ไม่พอใจพนักงานขายที่มีกิริยา ไม่สุภาพให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไม่ได้ หรือเกิดความกังวลเกี่ยวกับรายได้สถานการณ์เหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน การตัดสินใจในที่สุด จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจซื้อของแต่ละบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาผู้ประกอบการต้องพยายามจัดหาข้อมูล และหาเหตุผลตลอดจนสร้างกิจกรรมทางการตลาดที่สนับสนุนให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้ได้
          5. การประเมินผลหลังการซื้อ หลังจากการซื้อและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แล้วผู้บริโภคจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในผลิตภัณฑ์นั้นผู้ประกอบการ จะต้องพยายามศึกษาและติดตามผลภายหลังการซื้อผลิตภัณฑ์เพราะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการซื้อในครั้งต่อไป และมีอิทธิพลต่อการแนะนำบุคคลอื่นให้ซื้อผลิตภัณฑ์แต่ถ้าผู้บริโภคไม่พึงพอใจหลังการซื้อผู้ประกอบการจะต้องค้นหาสาเหตุเพื่อจะนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งสาเหตุของความไม่พึงพอใจของผู้บริโภคโดยทั่วไปได้แก่ความรู้สึกไม่แน่ใจหรือขาดความมั่นใจเพราะในขั้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เมื่อซื้อมาใช้แล้วยังคงมีความรู้สึกไม่แน่ใจ หรือขาดความมั่นใจอยู่ตลอดเวลาผู้บริโภคบางคนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีเพราะได้ยิน เกี่ยวกับความบกพร่อง ของผลิตภัณฑ์หรือรู้ข้อมูลภายหลังการซื้อว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันจากร้านค้ามีราคาถูกว่าตลอดจนพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะสื่อสารให้บุคคลที่คุ้นเคยได้รับรู้ซึ่งข้อมูล จะส่งผลต่อการขายดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องค้นหาสาเหตุแล้วรีบแก้ไขปรับปรุงเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคโดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพราคาการบรรจุภัณฑ์ และด้านการตลาด

บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการซื้อ

ในการซื้อขายแต่ละครั้งจะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องดังนี้
               1. ผู้ริเริ่ม เป็นผู้เสนอแนวความคิดหรือให้คำอธิบายบอกเล่าให้ผู้บริโภคฟังเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผู้ริเริ่มจึงอาจจะเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ได้
               2. ผู้มีอิทธิพลเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรือมีอิทธิพลในการชักจูงหรือโน้มน้าวให้ผู้บริโภคมีความคิดเห็นโน้มเอียงตามผู้มีอิทธิพล แต่ผู้มีอิทธิพลอาจจะไม่ใช่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก็ได้
               3. ผู้ตัดสินใจ เป็นผู้พิจารณาขั้นสุดท้ายเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์นั้นหรือไม่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาและหาข้อมูลว่าใครคือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจซื้อซึ่งผู้ตัดสินใจอาจจะไม่ใช้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก็ได้
               4. ผู้ซื้อ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์จริง ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เพียงแต่ทำหน้าที่ในการซื้อเท่านั้น
               5.ผู้ใช้ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ในการอุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ใช้อาจจะไม่ใช่ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจซื้อ และอาจจะไม่ใช้ผู้ซื้อเท่านั้น
บุคคลที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการซื้ออาจจะเป็นการกระทำของบุคคลแต่ละคนหรือพฤติกรรมทั้งหมดอาจจะรวมอยู่ในตัวของบุคคลคนเดียวกันก็ได้

การเปลี่ยนแปลงลักษณะการซื้อของผู้บริโภค

          สังคมของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสังคมที่เคยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่มี ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ ลูก ฯลฯ ปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลงกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมีเพียงพ่อแม่และลูก ที่ยังเล็กอาศัยอยู่รวมกัน ส่วนลูกที่เป็นวัยรุ่นซึ่งอยู่ในวัยเรียน และวัยทำงานจะแยกตัวออกไปอยู่ตามลำพัง เนื่องจากการศึกษา และตลาดแรงงานขยายตัวจึงมีการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ ไปตามเมืองใหญ่วิถีชีวิต ของคนเปลี่ยนไปทั้งรูปแบบการดำเนินชีวิตความต้องการที่อยู่อาศัย อาหารเสื้อผ้าบ้านพักอาศัยเป็นห้องชุด ขนาดกะทัดรัดมีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายครบถ้วนความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะตัวบุคคลมากขึ้นผู้ประกอบการ ต้องศึกษาอย่างใกล้ชิดพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
             1. ขนาดและปริมาณการซื้อลดลง เนื่องจากครอบครัวมีขนาดเล็กลงมีการแยกตัวตามลำพังสมาชิกในครอบครัวมีจำนวนลดลง ทำให้ความต้องการในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ลดลงเช่นการซื้อของใช้ส่วนตัวอาหารจะซื้อในปริมาณน้อยแต่เน้นคุณภาพและความสะดวกสบายในการซื้อผลิตภัณฑ์
              2. เปลี่ยนแปลงแหล่งซื้อ การดำรงชีวิตในเมืองเป็นไปอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลาปัญหาการจราจรทำให้เวลาของผู้บริโภคที่จับจ่ายซื้อหาน้อยลง จึงต้องเปลี่ยนแปลงแหล่งซื้อจากร้านค้าขนาดใหญ่เป็นร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านพักอาศัย
              3. ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตประจำวัน ผู้บริโภครุ่นใหม่ต้องการความสะดวกสบายทุกด้านในการดำรงชีพจึงนิยมซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วเช่นเครื่องซักผ้าหม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำอุ่น เตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น
              4. นิยมซื้อสินค้าโดยให้บริการตนเอง ผู้ประกอบการในปัจจุบันนิยมนำระบบการให้บริการตนเองมาใช้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจ้างพนักงานขณะเดียวกันผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจเพราะมีอิสระในการเลือกซื้อตลอดจนซื้อได้ในราคายุติธรรมผู้บริโภคมีการศึกษาสูงขึ้นทำให้การรับรู้ข่าวสารได้ถูกต้องไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพนักงานขาย เช่นร้านซูเปอร์มาร์เก็ตร้านสะดวกซื้อเป็นต้น
               5. การให้สินเชื่อ ปัจจุบันผู้บริโภคยอมรับและนิยมใช้ระบบสินเชื่อมากกว่าในอดีตเนื่องจากระบบเศรษฐกิจและต้องการความสะดวกสบายในการซื้อผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคจึงยินดีและเต็มใจที่จะซื้อโดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ เช่นการใช้บัตรเครดิต วิธีนี้จะทำให้พนักงานขายผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นแต่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สูญ
               6. นิยมใช้เครื่องมือสื่อสาร จากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้ประกอบการสามารถเสนอขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่านทางเครื่องมือสื่อสารมากขึ้นประกอบกับผู้บริโภคนิยมใช้เครื่องมือสื่อสารในการติดต่อทางธุรกิจหรือกิจกรรมส่วนตัวโดยใช้โทรศัพท์มือถือการส่งข้อความการใช้อินเทอร์เน็ตจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ทันเหตุการณ์และกว้างไกลยิ่งขึ้น 

ที่มา  http://aurasri.blogspot.com/2010/04/blog-post_4581.html
ผู้ค้นหา นางสาวเจนจิรา แซ่หมี